การตรวจภายในสำคัญอย่างไร

การตรวจภายในสำคัญอย่างไร

การตรวจภายในสำคัญอย่างไร การตรวจภายในไม่มีข้อกำหนดชัดเจนว่าต้องตรวจบ่อยเท่าไหร่ แต่แพทย์จะแนะนำให้ตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งสำหรับผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรืออาจตรวจตามความเสี่ยงของสุขภาพในแต่ละบุคคลตามดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งบางคนอาจต้องเข้ารับการตรวจมากกว่า 1 ครั้งต่อปีหากมีความผิดปกติตามสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึงมีความกังวลในการเกิดความผิดปกติกับมะเร็งรังไข่และมะเร็งปากมดลูก ซีสต์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือปัญหาด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์

การตรวจภายในสำคัญอย่างไร

หากคนไข้ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ หรือเป็นสาวโสด แพทย์มักจะสอบถามก่อนเข้ารับการตรวจ และจะเลือกใช้เครื่องมือที่มีขนาดเล็ก หรือใส่น้ำยาหล่อลื่น เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บ แต่อาจรู้สึกตึงๆ เจ็บๆ ขณะที่สอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด แต่หลังจากตรวจภายในเสร็จสิ้นแล้ว อาการเหล่านั้นก็จะหาย

การตรวจภายใน (Pelvic Exams) ถือเป็นการคัดกรองโรคด้วยวิธีการตรวจเช็คอวัยวะระบบสืบพันธุ์ทั้งอวัยวะภายในและอวัยวะภายนอก เพื่อให้แน่ใจว่ารังไข่ ช่องคลอด และอวัยวะเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์เป็นปกติดี เป็นการตรวจหาเนื้องอก ช่วยวิเคราะห์ขนาดของมดลูกและรังไข่ โดยแพทย์มักแนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อคัดกรองโรคต่างๆ ที่พบบ่อยในผู้หญิงและมักไม่แสดงอาการ เช่น ช่องคลอดอักเสบ ประจำเดือนมาผิดปกติ เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และโรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เป็นต้น

การตรวจภายในสำคัญอย่างไร

การดูแลและติดตามผลหลังการตรวจภายใน

โดยทั่วไปสามารถทราบผลได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่เข้ารับการตรวจ ยกเว้นในกรณีของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์ที่อาจต้องรอผลประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์นัดมาฟังผลอีกครั้งหลังจากผลการตรวจวิเคราะห์เสร็จสิ้น และอาจมีการจ่ายยาในบางราย

หากผลออกมาเป็นปกติก็สามารถกลับบ้านได้ทันทีโดยไม่ต้องพักฟื้น ผู้เข้ารับการตรวจสามารถใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ตามปกติ แต่ในกรณีที่ตรวจพบสิ่งปกติอื่น ๆ แพทย์อาจต้องทำการตรวจในขั้นตอนต่อไป เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้น

ผลข้างเคียงของการตรวจภายใน

การตรวจภายในเป็นการตรวจทางการแพทย์ที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่อาจทำให้ผู้เข้ารับการตรวจเกิดความรู้สึกเจ็บเล็กน้อย ไม่สบายตัว ในขณะสอดเครื่องมือหรือการคลำของแพทย์ แต่อาการจะหายไปหลังการตรวจเสร็จสิ้น