การตรวจสุขภาพ ในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มวัยทำงาน คือผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 – 60 ปี โดยบุคลากรทางการแพทย์จะซักประวัติเพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง เบาหวาน และการตรวจร่างกายทั่วไป เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต เพื่อช่วยในการตรวจคัดกรองโรคหรือภาวะบางอย่าง ซึ่งการตรวจร่างกายดังกล่าวควรตรวจปีละครั้ง หรือทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ด้วยเรื่องอื่น
ตรวจสุขภาพ
1.ตรวจสุขภาพช่องปาก
ควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันจากทันตแพทย์หรือทันตภิบาลเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
2.ตรวจการได้ยิน
ควรได้รับการตรวจการได้ยินด้วยการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ถูกันเบา ๆ ห่างจากรูหูประมาณ 1 นิ้ว ปีละ 1 ครั้ง
3.แบบประเมินสภาวะสุขภาพ
ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ภาวะซึมเศร้า
การติดนิโคตินในผู้สูบบุหรี่ (ตรวจเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่)
การดื่มแอลกอฮอล์ (ตรวจเฉพาะผู้ที่ดื่ม)
การใช้ยาและสารเสพติด (ตรวจเฉพาะผู้ที่ใช้สารเสพติด)
4.ตรวจสุขภาพเพิ่มเติม
การตรวจตา : บุคคลตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจวัดสายตาและตรวจคัดกรองโรคต้อหิน ภาวะความดันลูกตาสูง และความผิดปกติอื่น ๆ โดยทีมจักษุแพทย์ อย่างน้อย 1 ครั้ง
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest x-ray) : ช่วยตรวจหาวัณโรค โรคปอดเรื้อรังบางชนิด หรือรอยโรคผิดปกติอื่น ๆ ในปอด (เฉพาะคนที่มีความเสี่ยง เช่น คนที่ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หรือมีอาการสงสัยว่าป่วยเป็นวัณโรค และมะเร็งปอด)
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) : ช่วยในการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง รวมทั้งอาจตรวจพบความผิดปกติอื่น ๆ เช่น เม็ดเลือดหรือเกล็ดเลือดผิดปกติ
ตรวจระดับไขมันในเลือด : ควรตรวจระดับไขมันในเลือดทุก 5 ปี เพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด : อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก 3 ปี เพื่อช่วยตรวจกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ( หากมีเครื่องตรวจเบาหวานเป็นของตนเอง ควรตรวจเป็นประจำทุกเดือน
เครื่องตรวจวัดน้ำตาล
ตรวจปัสสาวะ : เพื่อช่วยตรวจคัดกรองโรคไตบางชนิด
ตรวจอุจจาระ : บุคคลตั้งแต่อายุ 50 ปีข้ึนไป ควรได้รับการตรวจอุจจาระ เพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ปีละ 1 ครั้ง
ตรวจวัดระดับกรดยูริก : เพื่อช่วยประเมินระดับกรดยูริกซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเกาต์หรือนิ่วกรดยูริก (ตรวจเฉพาะคนที่มีอาการปวดข้อ มีอาการข้ออักเสบ หรือข้อพิการ ซี่งสุ่มเสี่ยงเป็นโรคเกาต์เท่านั้น)
การตรวจการทำงานไต : เพื่อเช็กสมรรถภาพการทำงานของไต
การตรวจการทำงานตับ : เพื่อเช็กการทำงานของตับ
ตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) : เฉพาะคนที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 ควรได้รับการตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) โดยตรวจเพียงคร้ังเดีย
5.ตรวจสุขภาพเพิ่มเติมสำหรับเพศหญิง
ตรวจเต้านม : ผู้หญิงในช่วงอายุ 30-39 ปี ควรได้รับการตรวจเต้านมทุก ๆ 3 ปี จากแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข ที่ได้รับการฝึกอบรม และอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกปี
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก : ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วย Pap’s smear ทุก 3 ปี หรือวิธีป้ายหาความผิดปกติโดยใช้กรดอะซิติก (VIA) ทุก 5 ปี ทว่าหากมีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจด้วยวิธี Pap’s smear แม้ว่าจะเคยหรือไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็ตาม