ควบคุมรายจ่าย ด้วยการทำประกันสุขภาพ ข้อดีของการทำประกันสุขภาพเห็นจะอยู่ตรงที่สามารถควบคุมรายจ่ายของเราได้ ก็เพราะว่า ยามที่เราเจ็บป่วยหรือคนในครอบครัวเจ็บป่วย (ในนามของผู้เอาประกัน) เราไม่รู้เลยว่าจะเกิดการเจ็บป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลเมื่อไหร่ หากเป็นอาการเบาๆ พอจ่ายได้ ก็สามารถคำนวณเงินที่เรามีเพื่อจ่ายค่ายาได้ แต่หากวันหนึ่งเกิดเจ็บป่วยหนักขึ้นมา แค่อาการก็จะแย่แล้ว ยังจะต้องมากังวลว่าจะมีเงินจ่ายหรือเปล่าอีก หนักใจเหมือนกัน แต่พอเราทำประกันสุขภาพแล้ว อย่างมากก็มีบริษัทประกันมารับผิดชอบไป หากมีส่วนเกินไปบ้าง ก็คิดว่า น่าจะพอสามารถจ่ายเพิ่มได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว มันก็คือ การทยอยจ่ายค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้านั่นเอง โดยที่เมื่อถึงคราวจำเป็นจริงๆ ก็ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่
ค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล แบบประกันสุขภาพ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) คือ ค่ารักษาพยาบาลแบบต้องนอนในโรงพยาบาลเท่านั้น ประกอบไปด้วย ค่าห้องพัก ค่าแพทย์เยี่ยม ค่าผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งทางบริษัทฯ จะเป็นผู้จ่ายทั้งหมด แต่หากเกินวงเงินที่ซื้อไว้ก็ต้องจ่ายส่วนต่างเอง และค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) คือ ค่ารักษาพยาบาลแบบไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งก็ไม่สูงมาก เช่น ค่าแพทย์ และค่ายา แต่ถ้าหากใบเสร็จออกมาเกินวงเงินที่คุ้มครอง เราก็ต้องจ่ายส่วนต่างเองเหมือนกัน
วิธีเลือกประกันสุขภาพ
ให้พิจารณาจากรายจ่ายในการไปหาหมอช่วงปีที่ผ่านมาหรือประเมินสุขภาพของตัวเองในการไปหาหมอแต่ละครั้ง จากนั้นเราก็มาเลือกแผนประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองที่พอดีกับความต้องการ และเหมาะสมกับโรงพยาบาลที่ใช้บริการอยู่ ซึ่งสามารถเลือกความคุ้มครองได้ 2 แบบ คือ เป็นเปอร์เซ็นต์ของวงเงินคุ้มครองในแต่ละโรคที่ระบุไว้ และตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งแต่ละบริษัทประกันก็จะมีเมนู หรือมีแบบแพคเกจให้คุณเลือกมากมายตามความต้องการของคุณ
ประเมินการบริหารเงินค่ารักษาพยาบาลในอนาคต (ตัวอย่าง)
จากการคำนวณซื้อประกันสุขภาพรายปีด้วยการจ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพปีละ 8,124 บาท (คำนวณจากอายุ 33 ปี) เลือกแบบคนไข้ใน (เผื่อต้องนอนโรงพยาบาล) จะได้สิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลเมื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต่อการเจ็บป่วยหนึ่งครั้งคือ ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาลประมาณวันละ 2,200 บาท สูงสุดจะไม่เกิน 75 วัน ค่าห้องไอซียู (เผื่อไว้) วันละ 4,400 บาท สูงสุดไม่เกิน 5 วัน ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ในโรงพยาบาล 20,000 บาท ค่าผ่าตัดศัลยกรรม 60,000 บาท ค่าห้องผ่าตัด 5,500 บาท ค่าวางยาสลบ 6,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินแบบผู้ป่วยนอกเนื่องจากอุบัติเหตุ 5,000 บาท (ภายใน 24 ชั่วโมงแรก) ค่าวินิจฉัยโรคด้วยรังสีเอ็กซ์และการตรวจในห้องแล็บ 3,000 บาท ค่าปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลวันละ 800 บาท สูงสุดไม่เกิน 75 วัน และมีค่าชดเชยรายวันสำหรับการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลวันละ 600 บาท และยังมีค่าชดเชยรายวันสำหรับการเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคมะเร็งวันละ 3,000 บาท คิดเฉลี่ยแล้วก็จ่ายเงินแค่เดือนละ 677 บาท สามารถแบ่งส่วนสำหรับการรักษาพยาบาลในบัญชีได้อีก โดยตีเป็น 700 บาท ต่อเดือนเท่านั้น แต่ทั้งนี้ก็ยังมีเมนูอื่นๆ ให้เลือกอีกมากมาย ซึ่งค่าเบี้ยประกันก็จะแตกต่างกันไป
เท่ากับว่า การเลือกซื้อประกันสุขภาพก็เป็นการควบคุมรายจ่ายอีกทางหนึ่งได้ดี เพราะเราเองก็ไม่มีทางรู้เลยว่า เราหรือคนในครอบครัวคนไ