ตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นแค่ไหนที่ต้องตรวจ?

ตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นแค่ไหนที่ต้องตรวจ?

ตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นแค่ไหนที่ต้องตรวจ หลายท่านอาจมีข้อสงสัยทำไมต้องไปตรวจสุขภาพทุกๆปี ทั้งๆ ที่ร่างกายก็ปกติดี ขนาดไข้หวัดยังไม่เป็น จำเป็นแค่ไหนที่ต้องตรวจ? หรือสงสัยว่าต้องตรวจอะไรบ้าง?

ตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นแค่ไหนที่ต้องตรวจ

สภาพภายนอกที่ดูปกติ แข็งแรง แต่ภายในอาจกำลังเจ็บป่วยอยู่ หรือเกราะป้องกันที่เคยแข็งแรงกำลังทรุดตัวลงไปแล้วบ้างบางส่วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต หากเราไม่สังเกตเห็น หรือตรวจเจาะลึกเข้าไปดู ก็มิอาจรู้ได้ แต่หากเราตรวจเช็ค และพบว่ามีอาการบางอย่างที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางโรคในระยะเริ่มต้น ทำให้เราเตรียมพร้อม ปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลรักษาสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคได้แต่เนิ่นๆ ลดความเจ็บปวด ลดค่าใช้จ่ายที่อาจบานปลาย เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในระยะยาว

เมื่อการตรวจสุขภาพสำคัญจริงๆ เราจะเริ่มตรวจจากอะไรก่อนดี?
การเลือกว่าจะตรวจสุขภาพอะไรบ้างนั้น สามารถแบ่งองค์ประกอบได้ตามอายุ เพศ และความเสี่ยงเป็นหลัก ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ได้จัดโปรแกรมตรวจสุขภาพตามความเหมาะสมกับอายุ เพศ และวัย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ โดยสามารถขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติมหากต้องการตรวจเฉพาะทางอื่นๆ เพิ่มเติมตามความเสี่ยง และให้คำปรึกษาเพื่อทำการรักษาหลังการตรวจ หากพบความผิดปกติ หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต คำแนะนำสำหรับความเสี่ยงต่อโรคที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้คุณมีสุขภาพที่ดีไปอย่างยาวนาน
การตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน ตรวจอะไรกันบ้าง?

ตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นแค่ไหนที่ต้องตรวจ?

• Complete Blood Count (CBC) ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด คือ การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง รูปร่างของเม็ดเลือดแดงเพื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจาง และการตรวจนับเม็ดเลือดขาวเพื่อดูการติดเชื้อและภูมิต้านทานของร่างกาย รวมถึงการตรวจเกล็ดเลือดเพื่อดูความสามารถในการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
• Glucose การตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด เพื่อทำการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็น โรคเบาหวาน และประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้เป็นเบาหวาน
• Hemoglobin A1C การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ของเดือนที่ผ่านมาเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน และประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้เป็นเบาหวาน
• Total Cholesterol การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด อย่างสมบูรณ์ของระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง และโรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็น
• HDL-Cholesterol ไขมันชนิดดี ทำหน้าที่ป้องกัน LDL และ Cholesterol ไปสะสมที่เส้นเลือด
• LDL-Cholesterol ไขมันชนิดไม่ดี ทำหน้าที่ควบคุมระดับไขมันในเลือด เพื่อป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ
• Triglyceride ไตรกลีเซอไรด์ ได้จากการสังเคราะห์ที่ตับ สาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูง ได้แก่ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป

• High Sensitivity C-Reactive Protein คือ การตรวจเพื่อบอกถึงค่าความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ สามารถตรวจหาอัตราเสี่ยงของหลอดเลือดหัวใจได้ดียิ่งขึ้น การตรวจ hsCRP เป็นการตรวจหาระดับโปรตีนที่มีชื่อว่า C-reactive Protein (ซี-รีแอคทีฟโปรตีน) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีอยู่ในเลือดของเรา แต่ละคนมีระดับ CRP ไม่เท่ากัน หากเซลล์อักเสบอย่างต่อเนื่องระดับ CRP ก็จะสูงตาม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและพัฒนาไปสู่โรคร้ายหลายๆ ชนิดได้ เช่น มะเร็ง การเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในที่สุด

ตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นแค่ไหนที่ต้องตรวจ?
• Uric Acid คือ การตรวจวัดระดับยูริคในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐานของโรคเก๊าท์ โรคนิ่วในไต ส่วนสาเหตุที่ทำให้ระดับยูริคสูงขึ้น อาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักบางชนิด เช่น แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง ยอดผัก
• Blood Urea Nitrogen (BUN) คือ ตรวจการทำงานของไต วัดระดับปริมาณของเสียที่ร่างกายปกติจะสามารถขับออกไปได้ หากคุณมีโรคไตจะทำให้มีการคั่งของ Creatinine ในร่างกาย ซึ่งเป็นสารที่บ่งบอกถึงการทำงานของไต
• Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase (SGOT/AST) คือ ตรวจการทำงานของตับ เอนไซม์ที่พบได้จากเนื้อเยื่อของอวัยวะหลายชนิดได้แก่ หัวใจ กล้ามเนื้อ สมอง ตับอ่อน ม้าม และไต ซึ่งจะสูงขึ้นผิดปกติ เมื่อมีการบาดเจ็บหรือการอักเสบของอวัยวะอันเนื่องมาจากการรับประทานยาบาง ชนิด หรือการบาดเจ็บของกระดูก เป็นต้น
• การตรวจไวรัสตับอักเสบเอ บี และซี เพื่อตรวจหาความเสี่ยงหรือภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งตับในอนาคต