ท่านมีปัญหาการนอนไม่หลับบ่อยมากแค่ไหน ?

ท่านมีปัญหาการนอนไม่หลับบ่อยมากแค่ไหน ? ถ้าพูดถึงปัญหา “โรคนอนไม่หลับ” หรือ “Insomnia” หลายคนน่าจะพุ่งเป้าการรักษาไปที่การทานยานอนหลับ! เพราะฉะนั้น หากเราบอกกับคุณว่า จริงๆ แล้ว “ยานอนหลับ” ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด…ก็อาจทำให้หลายคนคัดค้านในใจ แต่นี่คือแนวทางในการรักษาโรคนอนไม่หลับ ที่จะช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพที่ดีขึ้น…โดยไม่ต้องพึ่งยา!

โรคนอนไม่หลับคืออะไร…หลับยากมานานแค่ไหนถึงควรพบแพทย์
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) จะแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ Acute และ Chronic ซึ่ง Acute เป็นการนอนไม่หลับในช่วงระยะสั้นๆ เกิดขึ้นประมาณ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน ส่วน Chronic จะเป็นการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง คือ เกิดขึ้นมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไป และต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป

โดยส่วนใหญ่ในช่วงแรก หลายคนจะเริ่มจากขั้น Acute ก่อน ซึ่งถ้ารู้สึกว่ายังควบคุมได้ ไม่กระทบชีวิตประจำวัน ก็ยังไม่จําเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่การนอนไม่หลับเริ่มส่งผลกับชีวิตประจําวัน ไม่ว่าจะเป็น การปวดศีรษะ หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ ทํางานไม่มีประสิทธิภาพ แบบนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าปล่อยให้เวลาเรื้อรังจนถึงขั้น Chronic ปัญหาการนอนไม่หลับจะส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้

การนอนไม่หลับ เกิดจากสาเหตุทางกาย พฤติกรรม และสภาวะทางจิตใจและอารมณ์ ที่ขึ้นกับแต่ละบุคคล

สิ่งที่จาเป็นต้องแยก คือ เริ่มไม่หลับในช่วงใดของการนอน ได้แก่

เริ่มต้นล้มตัวลงนอนก็หลับยากแล้ว
เริ่มหลับได้ไม่ยาก แต่ตื่นกลางดึก หรือสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ
เริ่มหลับได้ หลับได้ต่อเนื่อง แต่หลับได้ไม่กี่ชั่วโมงก็ตื่นแล้วหลับต่อไม่ได้
หลายคนมีปัญหาการหลับในหลายๆแบบดังกล่าวร่วมกัน และหาทางออกด้วยวิธีรับประทานยานอนหลับ

แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า ท่านกาลังทาร้ายตัวท่านเอง เพราะยานอนหลับหลายอย่าง มีผลกดการทางานของสมอง ให้ช้าลง และเริ่มต้นเข้าสู่ระยะการหลับ แต่หากบุคคลนั้น มีประวัติสงสัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เช่นประวัติกรน หลับแล้วไอหรือสาลักอากาศ

ยานอนหลับ จะยิ่งมีผลกดการทางานของสมอง แล้วทาให้มีโอกาสขาดอากาศมากขึ้น ทาให้ระยะการหลับลึกลดลง สภาพร่างกายเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลเสียต่อสมอง หัวใจ และหลายๆระบบ นอกจากนี้ร่างกายของท่านยังต้องการยาไปตลอดและมีโอกาสดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ

ยานอนหลับบางอย่าง ยังทาให้ท่านมีพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับที่ควบคุมไม่ได้

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนหลับ เพื่อซักประวัติ ตรวจหาสาเหตุและวางแผนการตรวจรักษา

ปัญหาการนอนไม่หลับ แก้ไขได้ หากทำความเข้าใจและมุ่งมั่นที่จะรักษา ดังนั้นคนที่ไม่ฝันเลย ฝันน้อยแต่ละคืน หรือฝันมาก อาจแสดงถึงการเปลี่ยนแปลง หรือความผิดปกติของสมอง ความจำ สภาวะทางอารมณ์ หรือแม้แต่ความผิดปกติของร่างกายระบบต่าง ๆ