“น้ำตาลเทียม” ไม่ช่วยให้ผอม กินเยอะเสี่ยงโรคอ้วน

“น้ำตาลเทียม” ไม่ช่วยให้ผอม กินเยอะเสี่ยงโรคอ้วน

“น้ำตาลเทียม” ไม่ช่วยให้ผอม กินเยอะเสี่ยงโรคอ้วน สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็นสารที่ถูกนำมาใช้มากขึ้นและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องด้วยคนหันมาดูแลสุขภาพตัวเอง ดูแลรูปร่างให้ดูดี จึงมองหาตัวช่วยที่ให้ความอร่อยแต่ปราศจากแคลอรี่หรือพลังงาน และคิดบวกเข้าข้างตัวเองว่าวิธีเหล่านี้จะช่วยลดน้ำหนักได้

“น้ำตาลเทียม” ไม่ช่วยให้ผอม กินเยอะเสี่ยงโรคอ้วน

การจัดแบ่งกลุ่มสารเหล่านี้ทำได้ไม่ชัดเจนนัก เพราะไม่สามารแบ่งได้ตามคำจำกัดความที่แท้จริง สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบสังเคราะห์ อาจมีบางตัวที่ต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติ แต่ถูกปรุงแต่งทางเคมี จึงจัดให้อยู่ในกลุ่มสังเคราะห์ เช่น กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ ในทางกลับกัน สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบธรรมชาติ ก็ผ่านกระบวนการทางด้านอุตสาหกรรมบางอย่างก่อนมาถึงผู้บริโภคอย่างเรา เช่น หญ้าหวาน

สิ่งสำคัญที่เราควรระลึกไว้อยู่เสมอ คือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทั้งแบบธรรมชาติและแบบสังเคราะห์ ไม่ใช่สิ่งวิเศษที่ทานแล้วทำให้น้ำหนักเราลดลง เพราะการลดน้ำหนักแบบสุขภาพดี จำเป็นต้องอาศัยหลายปัจจัยประกอบกัน

ความอ้วน โรคหลอดเลือดสมอง และสารให้ความหวานแทนน้ำตาล
ดูเหมือนว่า การทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะช่วยลดความอ้วน ควบคุมระดับน้ำตาลในคนไข้เบาหวาน และปัจจัยเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองได้ เพราะสรรพคุณของตัวมันเองที่มักได้ยินว่า ไม่ให้พลังงาน (no calories) และ เพื่อสุขภาพ (diet) นั่นคือ ให้ความหวานโดยที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าน้ำตาลแท้ หรือไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรงเลย เพราะโครงสร้างของมันที่ร่างกายเราไม่สามารถย่อยเป็นพลังงานได้ แต่จากงานวิจัยล่าสุดปี คศ. 2017 ของสมาคมหัวใจอเมริกัน (American Heart Association, AHA) พบว่า การทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบสังเคราะห์ เพิ่มความเสี่ยงกับการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และความจำเสื่อม (dementia)

“น้ำตาลเทียม” ไม่ช่วยให้ผอม กินเยอะเสี่ยงโรคอ้วน

สิ่งที่อธิบายสาเหตุในเรื่องนี้ได้ คือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาลมีรสหวานกว่าน้ำตาลแท้หลายเท่าใหปริมาณที่เท่ากัน แต่ให้พลังงานแก่ร่างกายน้อยมาก ดังนั้นสมองของเราเสมือนว่าถูกหลอก เรายังคงติดรสชาติหวานอยู่ และแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทางกลับกัน ร่างกายได้พลังงานน้อยมาก ทำให้ร่างกายพยายามปรับตัวชดเชยโดยการทำให้เราทานอย่างอื่นเสริม หรือในบางราย เป็นข้ออ้างให้เราสามารถทานเครื่องดื่ม ขนม หรืออาหารได้มากขึ้น เช่น ทานแฮมเบอร์เกอร์คู่กับน้ำอัดลมไดเอต ดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพคู่กับขนมเค้ก กลายเป็นได้พลังงานแคลอรี่ที่มากกว่าเดิมหลายเท่า ส่งผลให้โรคต่าง ๆ มาเยือน เช่น เพิ่มอ้วนคิดเป็น 36% เพิ่มเบาหวานคิดเป็น 67% และเพิ่มโรคหลอดเลือดซึ่งปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงตัวหนึ่งคือน้ำตาล

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล กับมะเร็ง
ยังไม่มีข้อมูลที่ชี้ว่า สารให้ความหวานแทนน้ำตาลสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งในคน พบเพียงว่า สารให้ความหวานแอสปาแตมเพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนูเท่านั้น จากข้อมูลเหล่านี้ เรายังไม่สามารถสรุปได้ว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบสังเคราะห์ เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งในคนหรือไม่ เนื่องจากงานวิจัยทำการเก็บข้อมูลในผู้ที่ดื่มเครื่งดื่มที่มีน้ำตาลเทียมทุกวัน ที่ปริมาณน้อยกว่า 24 ออนซ์ หรือ 680 กรัมต่อวัน เท่านั้น ในกรณีที่ทานมากกว่านี้ จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม

เราควรเลือกทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลอย่างไร
คนที่กำลังหันมาดูแลสุขภาพตัวเอง ลดน้ำหนัก คุมน้ำตาล คุมระดับไขมัน การมีตัวช่วยก็เป็นเรื่องที่ทำให้เราดูแลสุขภาพได้ง่ายขึ้น แต่เหรียญมี 2 ด้าน มีข้อดีย่อมมีข้อเสีย สิ่งที่เราเลือกทาน กินให้เป็นได้ คือ ทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแค่ช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ทานไปตลอด ร่วมกับมีวินัยต่อตัวเองในการควบคุมอาหารอย่างอื่น ออกกำลังกายมากขึ้น ให้เรานึกไว้เสมอว่า “แค่ขยับ ก็เท่ากับออกกำลังกาย” ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นผลเสียต่อการทานสารให้ความหวานเป็นต่อเนื่องระยะเวลานาน ดังนั้นสำหรับเด็กแล้ว ควรเลี่ยงการทานสารให้ความหวานแบบสังเคราะห์อาจเป็นทางออกที่เหมาะสมสุด

แบบธรรมชาติ ดีจริงมั้ย อะไรที่มาจากธรรมชาติฟังคล้ายจะปลอดภัย เนื่องจากยังไม่พบผลเสียจากการทานสารให้ความหวานแทนธรรมชาติ เช่น หญ้าหวาน จึงดูเหมือนว่าจะเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับคนรักสุขภาพในตอนนี้ที่เราทานได้ สำหรับน้ำตาลแอลกอฮอล์ องค์การอาหารและยาอเมริกาให้การรับรองว่าสามารถใช้เติมลงไปในอาหารได้อย่างปลอดภัย ไม่ได้จำกัดปริมาณ แต่ให้ใช้เท่าที่จำเป็นตาม Good Manufacturing Practices (GMP) ยังไม่พบผลข้างเคียงจากการทานน้ำตาลแอลกอฮอล์แบบรุนแรง แต่สามารถพบว่ามีอาการถ่ายเหลว หรือท้องอืดได้