ป้องกัน covid 19 รู้จักรักษาระยะห่างทางสังคม

ป้องกัน covid 19 รู้จักรักษาระยะห่างทางสังคม สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 ของไทย แนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการคาดการณ์แนวโน้มการระบาดโควิด-19 ของไทยเมื่อถึงกลางเดือนเมษายน อาจจะมีผู้ติดเชื้อสูงถึง 3.5 แสนคน

หากคนไทยไม่สามัคคีช่วยกันป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ไทยอาจเจอวิกฤติร้ายแรงเหมือนอิตาลี ซึ่งแนวทาง Social Distancing หรือระยะห่างปลอดภัย แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญลดแพร่เชื้อโควิด-19 เพราะผู้ติดเชื้อ 70-80% เกิดจากสัมผัส ไม่ใช่ไอ จาม การปฏิบัติตามข้อแนะนำรักษาระยะห่างจะไม่ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งพรวด

เมื่อแนวทางป้องกันโควิดมีเรื่องรักษาระยะห่างทางสังคมเป็นหัวใจ และการเอาชนะสงครามไวรัสรัฐทำลำพังไม่ได้ นำร่องในสถานพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค เนื่องจากมีทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย เข้ามาใช้พื้นที่หนาแน่นในแต่ละวัน โดยดำเนินการออกแบบและกำหนดตำแหน่งตามหลัก Social Distancing ภายในลิฟต์โดยสาร เป็นรูปแบบการเดินเข้าลิฟต์ ยืนประจำตำแหน่งที่กำหนดไว้ เมื่อใช้บริการ

โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ที่แนะนำโดย WHO และ United States Center for Disease Control (US-CDC) ที่ให้เว้นระยะห่างประมาณ 1-2 เมตร (3-6 ฟุต) ระหว่างบุคคล ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่บุคคลนั้นอาจจะมีอาการไอจามหรือไม่ก็ตาม ส่วนโต๊ะอาหารในโรงอาหารรวมของจุฬาฯ 7 แห่ง และจำนวนโต๊ะ เก้าอี้ เกือบหนึ่งพันตัว ด้วยระยะเวลา แรงงาน และวัสดุที่จำกัด เราติดเทปกาวผ้าบนโต๊ะอาหารแบบง่ายๆ โดยจัดระยะห่างระหว่างบุคคลเวลานั่ง 1-1.5 เมตร และไม่ได้ทำสัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติม บุคลากรของจุฬาฯ รวมถึงบุคคลภายนอกส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ และพร้อมปฏิบัติตามแนว social distancing แบบอัตโนมัติ เช่น การเดินเข้าลิฟต์ ยืนประจำตำแหน่งที่กำหนดไว้ และหันหน้าเข้าผนัง ในส่วนของการนั่งบนโต๊ะอาหาร ก็มีการนั่งในตำแหน่งที่กำหนดไว้

การจัดทำพื้นที่เพื่อการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำได้เลย ไม่ต้องรอ ผู้ช่วยอธิการบดีบอกว่า แนวทางปฏิบัติของจุฬาฯ เราพยายามหาวิธีที่สามารถปฏิบัติให้ได้เร็วที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เกิดผลประโยชน์ให้มากที่สุด และดูแลรักษาง่ายที่สุด การออกแบบของ social distancing ต้องคำนึงถึงการใช้งานที่ไม่ฝืนธรรมชาติของการเคลื่อนไหว ระยะต่างๆ ที่จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังต้องเว้นระยะห่างเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อโรค สุดท้ายเรื่องความสวยงามของการออกแบบจะเป็นประเด็นที่รองไปจากการต้องการสื่อสารของการอยู่ห่างกันสักพักในรูปแบบสากล เรียบง่าย

“ประเด็นสำคัญที่สุดของการออกแบบในกรณีของ social distancing น่าจะเป็นในเรื่องของการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของความเสี่ยง และนำไปสู่การปฏิบัติทางด้านการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบอัตโนมัติ น่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในสถานการณ์การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคในแบบปัจจุบัน

Social distancing เป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติในการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่บุคลากรทางการแพทย์ได้แนะนำให้ปฏิบัติในกรณีที่เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้คน เช่น การพูดคุย และการสัมผัส ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการจำกัดการรวมตัวของกลุ่มคนในสถานที่ต่างๆ การจำกัดการเข้า-ออกอาคาร การปิดอาคาร การงดกิจกรรมที่ต้องมาเจอกันในทุกรูปแบบ ซึ่งจุฬาฯ ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เป็นแบบออนไลน์ ปรับเลื่อนเวลาการทำงาน ลดการประชุมขนาดใหญ่