สุขภาพ ในยุคโควิด-19 จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูแลตัวเอง อย่างใกล้ชิด ไม่เจอวิธีไหนหรือหนทางไหนก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีที่ตอบโจทย์ ในตอนนี้ และเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายของตนเองเป็นอย่างมากเลยก็คือ การฉีดวัคซีน แต่สิ่งที่ตามมาคือผลข้างเคียง หลังจากฉีดหรือรวมไปถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว ก็ต้องดูอย่างใกล้ชิดและดูอย่างมากเลยว่า ควรที่จะเป็นไปแบบไหนหรือทำแบบไหน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ ที่ดูเหมือนว่าจะมีความเกี่ยวโยง หรือ เชื่อมโยงกับการฉีดวัคซีน และผลข้างเคียงโดยตรงเลยทีเดียว สำหรับวันนี้เรามาทำความรู้จักทั้งระยะสั้น และระยะยาว จากการฉีดและรวมไปถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาจจะก่อให้เกิดความกังวลมาก จนเป็นพิเศษ ดังนั้น จึงต้องมาทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง และเหมาะสมดีกว่าก่อนที่จะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19
อายุรแพทย์หัวใจ เผย..
ทางด้าน นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์หัวใจ ได้ออกมาเปิดเผยว่า คนที่เป็นโรคประจำตัวหรืออาการเรื้อรัง หากได้รับเชื้อโควิด-19 มีโอกาสสูงเป็นอย่างมากที่เชื้อโรค และมีการพัฒนาโรคที่รุนแรง และมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มผู้คนปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วย ที่มีโรคหัวใจหลอดเลือดอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะเป็นทั้ง
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ และหลอดเลือดที่มีอาการเฉียบพลัน
- ผู้ป่วยโรคความดันหลอดเลือดแดง
- หัวใจพิการแต่กำเนิด
- มีสภาวะหัวใจล้มเหลวระยะรุนแรง
- โรคอ้วนรุนแรง
วิธีการเตรียมตัวฉีดวัคซีนของผู้ป่วย “โรคหลอดเลือดหัวใจ”
สำหรับวิธีการและการเตรียมตัว กับความพร้อมและการปฏิบัติตัว สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและรวมไปถึงโรคหลอดเลือด ก่อนที่จะฉีดวัคซีนนั้นก็เรียกได้ว่ามีวิธีไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น แต่สามารถที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลตนเองได้
- ควรตรวจสอบอาการของโรคว่ามีอาการหรือไม่ : สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจต้องพิจารณาตัวเองก่อน เลยว่าอาการมีมากน้อยแค่ไหนอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ เช่น อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แบบชนิดเฉียบพลัน จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ขณะที่ออกแรง หรือ รวมไปถึงการออกกำลังกาย ในบริเวณกลางหน้าอกและรู้สึกร้าวไปถึงแขนซ้าย กับอาการข้างเคียงด้วย จะเป็นทั้งนอนราบไม่ได้ เหนื่อยหนัก ต้องนอนหมอนสูง หรือมีสภาวะน้ำท่วมปอด
- ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงชนิดขั้นรุนแรง : สำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ที่วัดได้มากกว่า 160 มิลลิเมตรปรอท จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมความดันก่อน ที่จะได้รับการฉีดให้ต่ำกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท
- หากรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด หากท่านรับประทาน ยาการต้านการแข็งตัวของเลือดควรที่จะรักษาระดับ INR ให้คงที่ตลอดและต่ำกว่า 4.0 ภายใน 1 สัปดาห์หรือ มีผลก่อนหน้านี้ที่ต่ำกว่า 3.00 มาโดยตลอด
- ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ : นี่คืออีกหนึ่งขั้นตอนที่แน่นอนที่สุด คือการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณควรที่จะได้รับ การฉีดช่วงเวลาไหนกันแน่ และเพื่อสุขภาพที่แท้จริงของคุณ