รูปแบบประกันสุขภาพ มีกี่ประเภท

รูปแบบประกันสุขภาพ มีกี่ประเภท

รูปแบบประกันสุขภาพ มีกี่ประเภท “ฉันสบายดี” – – “ฉันแข็งแรง” – – “ฉันไม่เป็นอะไร” — ต่อให้พยายามสะกดจิตบอกตัวเองอย่างไร แต่เรื่องของสุขภาพหรือการเจ็บไข้ได้ป่วยก็เป็นเรื่องธรรมชาติ ที่ไม่ว่าใครก็ไม่อาจฝืน ยิ่งไปกว่านั้นคือเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเกิดเป็นอะไรขึ้นมาตอนไหน

รูปแบบประกันสุขภาพ มีกี่ประเภท

ยิ่งเดี๋ยวนี้ค่าใช้จ่ายในการเข้าโรงพยาบาลแต่ละครั้ง นับวันก็จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ หรือถ้าต้องเข้าไปนอนพักรักษาตัวด้วยแล้ว ตัวเลขไม่ต้องพูดถึง (แทบไม่อยากจะมองใบเสร็จ!)
การเตรียมพร้อมทำประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้า จึงเป็นวิธีที่ช่วยให้เราสามารถรับมือกับปัญหาสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้แบบไร้กังวล

ประกันสุขภาพ คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ทั้งจากการเจ็บป่วยเป็นโรคต่าง ๆ หรือจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้เอาประกันภัย แล้วจะเลือกอย่างไรดีล่ะ? เพราะประกันสุขภาพก็มีตั้งมากมายหลากหลายรูปแบบ ที่สำคัญคือแต่ละแห่งก็ดูเหมือน ๆ กันไปหมด

เริ่มที่รูปแบบประกันสุขภาพ
ก่อนอื่นต้องดูว่าประกันสุขภาพแบบไหนที่ตอบโจทย์ความต้องการของเรามากที่สุด ซึ่งปัจจุบันเท่าที่มีอยู่ สามารถแบ่งได้ 5 แบบ คือ

ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD)
แผนประกันที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่เรามีอาการเจ็บป่วย และได้รับคำแนะนำหรือคำวินิจฉัยของแพทย์ให้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

รูปแบบประกันสุขภาพ มีกี่ประเภท

ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD)
แผนประกันที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่เรามีอาการเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาแต่ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (ECIR)
แผนประกันที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ตรวจพบโรคร้ายแรง ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง และใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างนาน รวมถึงมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคมะเร็งและเนื้องอก โรคหัวใจและระบบหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับสมอง ฯลฯ

ประกันอุบัติเหตุ (PA)
แผนประกันที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ส่งผลให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อย ไปจนถึงทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิต ทั้งนี้จะครอบคลุมทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษา และค่าสินไหมทดแทนต่าง ๆ ด้วย

ประกันชดเชยรายได้
แผนประกันที่ช่วยชดเชยรายได้ โดยจะได้รับค่าสินไหมทดแทนรายวัน ในช่วงที่เราไม่สามารถไปทำงานได้ ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล