งานศึกษาใหม่เผยให้เห็นว่าผู้คนเกิดความรู้สึกอย่างไรที่ต้องถูกผูกมัดอยู่ในความสัมพันธ์ หากนึกถึงสิ่งที่โคจรให้คุณได้มาพบกับคู่ชีวิต ใช่คำว่ารักหรือเปล่าที่ผูกพันคนสองคนไว้ด้วยกัน หรือเป็นความกลัวที่ว่าหากเลิกรากันไปคุณจะต้องโดดเดี่ยวอ้างว้างตัวคนเดียว หรือกลัวในสิ่งที่คุณจะต้องเผชิญจากการยุติความสัมพันธ์ุนั้น
ไหนจะ บุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในชีวิตเช่นลูก ๆ ของคุณ ในปีที่ผ่านมาเชื้อไวรัส COVID-19 ได้สร้างข้อจำกัดรูปแบบใหม่ให้กับคู่รักที่คิดไม่ตกในเรื่องยุติความสัมพันธ์เช่น ความไม่มั่นคงทางการเงิน การรับมือกับบรรดาเด็ก ๆ ที่ตอนนี้เรียนหนังสือจากที่บ้าน การจำต้องกักตัวไม่สามารถออกไปข้างนอกได้อย่างอิสระ เหล่านี้เป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่งที่ยกตัวอย่างขึ้นกับ บางชีวิตซึ่งอาจจำต้องทนอยู่ในความสัมพันธ์ที่พวกเขารู้สึกเหมือนต้องติดอยู่กับมันในสมัยปัจจุบันที่ต้องผจญกับวิกฤติโรคระบาดนี้ไปด้วย
จากงานศึกษาชิ้นใหม่ของไทเลอร์ เจมิสันแห่งมหาวิทยาลัยนิวแฮมป์ เชียร์ร่วมกับโจนาธาน เบ็คเมเยอร์แห่งมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนีย พบว่าความรู้สึกผูกพันที่คู่รักมีให้กันเป็นตัวชี้วัดถึงระดับความสุขของความสัมพันธ์นั้น ๆ ซึ่งทั้งคู่ได้ระบุในงานศึกษานี้ว่า “คำมั่นสัญญาที่ผูกโยงคนสองเอาไว้ไม่ได้เป็นผลมาจากความรักและความปรารถนาอันแสนโรแมนติกเสมอไป คนรักฝ่ายหนึ่งอาจบีบบังคับให้อีกฝ่ายจ าต้องอยู่ในความสัมพันธ์ด้วยกลวิธีควบคุมทางจิตวิทยา หรืออาจมีข้อผูกมัดบางอย่างที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้เป็นข้ออ้างไม่ให้อีกคนเดินจากไป”
ปัจจัยอื่นนอกเหนือจากความรักโรแมนติกที่ว่านี้อาจทำให้บุคคลรู้สึกไปไหนไม่ได้ เหมือนถูกผูกมัดหรือติดข้องอยู่ในการเป็นหุ้นส่วนชีวิตกัน ซึ่งบางคนอาจสงสัยว่าชีวิตตนเองมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ปัจจัยหลักคือความเฉยชาซึ่งเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่ด้วยกันเลยทีเดียว เมื่อเริ่มต้นลงหลักปักฐานกับใครแล้วคู่รักมีเกณฑ์ที่จะพึ่งพาการผูกมัดที่ว่านี้มากเกินไป ไม่ว่าด้วยทะเบียนสมรสตามกฎหมายหรือคำมั่นสัญญาอันเป็นของตายที่ผูกพันกันและกัน
จนบางครั้งมองข้ามขั้นบันไดแห่งความสัมพันธ์ในแต่ละย่างก้าวซึ่งอาจมีความหมายหรือที่มาที่ไปในแต่ละขั้นนั้นซ่อนอยู่ และเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพของคนรักในแต่ละคนรวมถึงความสัมพันธ์ที่มีให้กันได้อย่างไม่รู้ตัว เมื่อนานวันเข้าบางคนอาจมองไม่เห็นถึงรายละเอียดในสิ่งที่ด าเนินไปทุกย่างก้าวของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นหรือบางคราวอาจก้าวพลาดซ้ำ ผลสุดท้ายคือการผูกมัดดังกล่าวจะกลับกลายเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้งคู่รักไม่ให้แต่ละคนบรรลุเป้าหมายที่เป็นอิสระของตนเอง
นักวิจัยทั้งสองท่านจากทั้งสองสถาบัน ได้ศึกษาถึงปัญหาเรื่องสิ่งที่จำกัดในความสัมพันธ์นี้โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงลึกในการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมทั้ง 35 รายที่มีอายุเฉลี่ย 32 ปีซึ่งบางคนมีสถานะสมรสแล้ว กลุ่มตัวอย่างของผู้เข้าร่วม 14 รายได้ สัมภาษณ์และติดตามผลใน 18 เดือนอย่างต่อเนื่อง จุดประสงค์ของการศึกษาไม่ได้ริเริ่มเพื่อศึกษาถึงภาวะติดขัดในความสัมพันธ์แต่เพื่อตรวจสอบถึงเส้นทางความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตคู่ของผู้เข้าร่วม เมื่อนักวิจัยทั้งคู่พบว่ากลุ่มตัวอย่างหลายรายพูดค าว่า “จมปลัก” ในบทสัมภาษณ์บ่อยครั้งอย่างเป็นธรรมชาติเกินเหตุจึงตัดสินใจลงลึกในส่วนนี้อย่างจริงจัง
โดยให้กลุ่มตัวอย่างให้ความหมายสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “จมปลัก” ในความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น และพบว่ามีองค์ประกอบสามส่วนที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง อันได้แก่ ความเสียใจที่ใช้เวลาอยู่ในความสัมพันธ์แบบนี้นานเกินไป กระบวนการอันยืดเยื้อในการยุติความสัมพันธ์ และความสับสนสองจิตสองใจในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อซึ่งอย่างสุดท้ายนั้นยังรวมถึงภาระหน้าที่และอุปสรรครอบด้านในการเลิกราออกไปจากชีวิต
ความรู้สึกจมปลักไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในเพียงชั่วข้ามคืน
การศึกษาพบว่าคู่รักนั้นมักเริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยความรักและทัศนคติที่เป็นบวกต่อความสัมพันธ์ของพวกเขา อย่างไรก็ตามยิ่งความสัมพันธ์ดำเนินต่อไปนานเท่าไหร่พวกเขาก็ยิ่งมีอุปสรรคในการยุติความสัมพันธ์มากขึ้นเท่านั้นหลังจากที่ความรู้สึกเชิงบวกนั้นได้จางหายไปแล้วซึ่งอุปสรรคข้างต้นนี้ยังรวมถึงความมั่นคงและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาด้วย โดยเมื่อวิเคราะห์จากบทสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างให้การว่าพวกเขาไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่ากำลังพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่เกิดภาวะติดขัดในความสัมพันธ์มาโดยตลอด
ซึ่งบ่งบอกว่าผู้คนไม่สามารถตระหนักได้เสมอไปว่าประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับจะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้งกันเอาไว้จนกระทั่งหลังจากที่พวกเขาเริ่มรู้สึกจมปลักกับความสัมพันธ์นั้นแล้วจริง ๆ ซึ่งหลังจากที่ความพึงพอใจที่พวกเขามีค่อย ๆ ลดลงไปอย่างต่อเนื่อง แนวทางปฏิบัติที่กลุ่มตัวอย่างมักจะทำคือการย้อนกลับไปคิดถึงประสบการณ์เชิงบวกในช่วงแรกที่คบกัน และสร้างพฤติกรรมในรูปแบบเดิมที่เคยมีจากประสบการณ์เชิงบวกในอดีตก่อนหน้านั้น การย้อนอดีตเป็นสิ่งที่ให้ความสบายใจซึ่งไม่ต่อเนื่อง ในขณะที่บางปัญหาอาจยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ตรงจุด ความสัมพันธ์ที่จมปลักจึงเป็นเรื่องของการสร้างความสบายใจชั่วครั้งคราวมากกว่าที่จะเป็นความรัก
คำถามคือเมื่อติดกับอยู่ในความสัมพันธ์แล้วแนวทางใดที่จะพาตนเองหลุดออกมาได้ ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้ให้สัมภาษณ์ว่าต้องอาศัยการพินิจวิเคราะห์รอบด้านอย่างถี่ถ้วนและการตัดสินใจที่เด็ดขาดร่วมกัน โดยยึดจากเป้าหมายในชีวิตและแนวทางอันเป็นไปได้ในการน าไปไปสู่เป้าหมายนั้นควบคู่ไปกับการดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ ซึ่งบางทีภาวะจมปลักนี้เองก็อาจใช้เป็นแรงผลักดันให้บุคคลเดินทางไปสู่วิถีชีวิตในแบบที่ต้องการได้เช่นกัน สำหรับบทสรุปที่ได้ทางทีมนักวิจัยแนะนำว่าวิธีการจัดการกับปัญหาที่ดีที่สุดนั้นคือการป้องกันแต่ไว้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น ก่อนที่จะสร้างพันธะผูกมัดใด ๆ กับคู่ชีวิตของแต่ละคนนั้น
สิ่งที่คนเราสามารถทำได้คือการวางแผนชีวิตครอบครัวและท าความเข้าใจอย่างดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ความสัมพันธ์ดำเนินไปจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก หากมีเรื่องต้องขัดแย้งก็ควรแก้ไขปัญหาที่เกิดอย่างตรงประเด็นได้และทันท่วงที ใส่ใจในความสัมพันธ์พร้อมทั้งให้อิสระและสนับสนุนคู่ชีวิตในการไปสู่เป้าหมายที่สำเร็จในชีวิตกันและกัน