หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ผู้หญิงไม่ควรพลาด

หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ผู้หญิงไม่ควรพลาด

หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ผู้หญิงไม่ควรพลาด มีคำกล่าวว่า “การตรวจคัดกรองร้อยครั้ง ยังคุ้มกว่าการรักษาเพียงครั้งเดียว” เนื่องจากการตรวจคัดกรองโรคต่างๆ จะทำให้เราสามารถพบโรคได้เร็วขึ้นและยังป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงในอนาคตได้อีกด้วย เพราะการพบโรคได้เร็วจะช่วยทำให้การรักษาง่ายขึ้น ส่วนสิ่งที่ควรตรวจคัดกรองในแต่ละบุคคลนั้นต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอายุ พันธุกรรม พฤติกรรมสุขภาพ และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
เนื่องจากมะเร็งเต้านมยิ่งพบเร็วเท่าไหร่จะยิ่งมีโอกาสรักษาหายมากขึ้นเท่านั้น เพราะเซลล์มะเร็งนั้นยังมีขนาดเล็กและยังไม่แพร่กระจายไปในอวัยวะสำคัญเช่น สมองหรือปอด ดังนั้นในผู้หญิงอายุ 20 – 30 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองทุกๆ 1 – 3 ปี และควรตรวจถี่ขึ้นหากพบปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธี Mammography
การตรวจแมมโมแกรม คือการใช้รังสีเอกซเรย์ขนาดต่ำเพื่อตรวจดูว่ามีก้อนของมะเร็งเต้านมหรือไม่ ซึ่งขนาดของก้อนที่จะตรวจได้มีขนาดเล็กเกินกว่าที่คนไข้จะรู้สึกว่ามีมันอยู่ด้วยซ้ำ การตรวจนี้ควรทำในทุกๆปีเมื่ออายุเข้าสู่วัย 40 ปี แล้วเปลี่ยนเป็นปีเว้นปีเมื่ออายุ 50-70 ปี แต่ความถี่ที่เหมาะสมนั้นควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เนื่องจากจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นชนิดของมะเร็งที่ป้องกันได้ง่าย เกิดจากการติดเชื้อ HPV ที่สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ เชื้อดังกล่าวจะทำให้เกิดความผิดปกติที่ปากมดลูก (ปากมดลูกเป็นทางเชื่อมแคบๆระหว่างมดลูกกับช่องคลอด) ในการตรวจแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกมาแล้วนำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติหรือไม่ หรือทำการตรวจหาเชื้อ HPV ในตัวอย่างที่เก็บมา ซึ่งหากพบความผิดปกติขึ้น
การรักษาจะนำเนื้อเยื่อที่ผิดปกตินั้นออกก่อนที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
การตรวจมะเร็งปากมดลูกจะทำโดยวิธี pap smear โดยจะทำการเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกไปตรวจหาการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติและวิธีที่แม่นยำกว่าคือการตรวจหาเชื้อ HPV (เชื้อก่อมะเร็งปากมดลูก) ความจำเป็นของการตรวจนั้นแพทย์จะเป็นผู้ประเมินจากความเสี่ยงโดยเฉพาะความเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งถ้าหากพบว่ามีมากแพทย์จะทำการตรวจการติดเชื้อหนองในแท้และหนองในเทียมไปพร้อมกันซึ่งควรรับการตรวจคัดกรองทุกๆปี

หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ผู้หญิงไม่ควรพลาด

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้นจะมีประสิทธิภาพเมื่อผู้ฉีดอายุน้อยกว่า 26 ปี แต่เนื่องจากเชื้อก่อโรคนั้นมีหลายสายพันธุ์และวัคซีนที่มียังไม่สามารถป้องกันได้ทุกๆสายพันธุ์ รวมถึงมะเร็งปากมดลูกทุกชนิดไม่ได้เกิดจากเชื้อ HPV เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์จึงยังมีความสำคัญอยู่แม้ว่าจะฉีดวัคซีนแล้ว

ภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหัก
จากการสำรวจประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปในอเมริกาพบว่ากว่าครึ่งของเพศหญิงและ 1 ใน 4 ของเพศชายมีภาวะกระดูกพรุน ภาวะกระดูกพรุนนั้นมักเกิดในผู้สูงอายุโดยเฉพาะเพศหญิงเนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีหน้าที่พาแคลเซียมเข้าสู่กระดูก อาการแสดงของภาวะกระดูกพรุนคือแตกหักง่าย แม้ว่าจะได้รับการกระแทก ล้ม หรือขาพลิกเพียงนิดเดียว การรักษาและป้องกันภาวะนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

การตรวจมวลกระดูก
การตรวจมวลกระดูกนั้นจะใช้รังสีและวิธีตรวจเฉพาะที่เรียกว่า DXA โดยรังสีดังกล่าวจะทำหน้าที่วัดมวลกระดูก ประเมินความแข็งแรงของกระดูกและหาจุดที่กระดูกบางก่อนที่การแตก หักจะเกิดขึ้น อีกทั้งยังทำนายความเสี่ยงของการแตก หักอีกด้วย คุณผู้หญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจึงควรตรวจวัดมวลกระดูกเป็นประจำทุกคน

มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งผิวหนังหลายชนิดสามารถรักษาได้ง่ายเมื่อตรวจพบในระยะแรกๆ โดยมะเร็งผิวหนังชนิด melanoma เป็นมะเร็งที่อันตรายที่สุด แต่ชนิดที่พบบ่อยคือ non-melanoma โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือพันธุกรรม และการสัมผัสแดดเป็นเวลานานเกินไป

การตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง
การตรวจมะเร็งผิวหนังนั้นทำได้โดยการสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของผิวโดยเฉพาะส่วนที่เป็น ฝ้า กระ หรือไฝ หากมีการเปลี่ยนแปลงที่รูปร่าง สี หรือขนาด ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบหรือทำการตรวจโดยแพทย์ผิวหนังในการตรวจสุขภาพประจำปีก็สามารถทำได้

หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ผู้หญิงไม่ควรพลาด

ความดันโลหิตสูง
เมื่ออายุมากขึ้นความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะมากขึ้นตาม โดยเฉพาะคนที่มีน้ำหนักเกินหรือมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี ความดันโลหิตที่สูงนั้นจะส่งผลให้เกิดโรคหัวใจหรือเส้นเลือดในสมองแตกโดยไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ ดังนั้นการปรับพฤติกรรมควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นเรื่องสำคัญ

การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตนั้นมาสารถตรวจได้เองที่บ้าน ร้านยา คลีนิค หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยค่าความดันที่แสดงจะมีสองค่าคือ ความดันขณะหัวใจบีบตัว(เลขด้านบน) และความดันขณะหัวใจคลายตัว(เลขด้านล่าง) โดยความดันโลหิตที่ควรเป็นคือ 120/80 และจะพิจารณาว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่อความดันสูงกว่า 135/85 ในแต่ละบุคคลจะมีคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมหรือการใช้ยาที่แตกต่างกันไปขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

ระดับคอลเลสเตอรอลในกระแสเลือด
คอเลสเตอรอลในกระแสเลือดจะเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด(เหมือนตะไคร่น้ำเกาะในสายยาง) เมื่อมีปริมาณมากขึ้นและสะสมเป็นเวลานาน ก้อนคอลเลสเตอรอลเหล่านั้นจะหลุดลอยไปในกระแสเลือดและไปอุดตันที่หลอดเลือดเล็กๆ จึงเกิดเป็นเส้นเลือดอุดตันที่หัวใจหรือสมองได้ ข่าวร้ายคือในขณะที่เกิดการสะสมนั้นจะไม่มีอาการแสดงใดๆ จนกระทั่งเกิดการอุดตันขึ้น