เทคโนโลยีการแพทย์ จากต่างประเทศ ที่นำมาประยุกต์ใช้

ต้องยอมรับว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันมาไกลจากอดีต นักวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาศักยภาพของเทคโนโลยี จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง มีการพัฒนาอยู่เรื่อยมา รวมไปถึงการทดลองต่างๆ ที่ส่งผลต่อนวัตกรรมใหม่ๆในโลกปัจจุบัน แน่นอนว่า การพัฒนาทางเทคโนโลยี ย่อมมีหลากหลายด้าน หลากหลายแนว รวมไปถึง การพัฒนาทางการแพทย์ ให้มีนวัตกรรมที่ใหม่ และไวต่อการรักษา ทันเวลาต่อการช่วยชีวิต

แน่นอนว่า การพัฒนาทางเทคโนโลยีการแพทย์ ในปัจจุบัน มีการพัฒนามาไกลมากๆ ในอดีตทั้งเครื่องมือเครื่องไม้ ต่างๆ การทำงานของ กระบวนการเทคโนโลยี การยื้อชีวิต รวมไปถึงการพัฒนา ในการรักษาผู้คนโดยใช้เทคโนโลยี อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีการแพทย์ จากต่างประเทศ ที่นำมาประยุกต์ใช้

วันนี้ เราจะขอพาทุกคนไปรู้จักกับเทคโนโลยี ที่ได้รับการพัฒนาในเมืองนอกโดยคนไทย และได้นำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยในการรักษาโรคต่างๆ วันนี้ เราจะมาดูกันว่า 2 เทคโนโลยีนั้น เป็นอย่างไรและมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

เทคโนโลยีการฉายรังสีรักษามะเร็ง ศูนย์รังสีมะเร็งวิทยาโดย นายแพทย์ณัฐวุฒิ กันตถาวร หัวหน้าศูนย์สุขภาพสตรี และอาจารย์คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

“โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เราเติบโตมาจากกา รเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง จึงเชี่ยวชาญด้านการตรวจและรักษาโรคมะเร็ง ควบคู่กับการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง แบบครบวงจรด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย โดยผู้ป่วยมะเร็งทุกราย ที่เข้ามารับบริการ จะได้รับการประเมินผลการตรวจวินิจฉัย และวางแผนการรักษาโดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย แต่ละราย เพื่อนำไปสู่แผนการรักษาด้านต่างๆ ทั้งการฉายรังสี จากศูนย์รังสีมะเร็งวิทยา ศูนย์รวมการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสี ที่ครบครัน และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

โดยมีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อจำลองการรักษาเสมือนจริง ก่อนการรักษา การฉายรังสีแปรความเข้มสามมิติ โดยเพิ่มเทคนิคในการปรับความเข้มของลำรังสี ที่แม่นยำตรงเป้าหมาย ช่วยลดปริมาณรังสีต่ออวัยวะข้างเคียงได้มากขึ้น เครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค RapidArc ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อลดเวลาในการฉายรังสีลงและให้คุณภาพการรักษาที่ดีขึ้น

และเทคโนโลยีตัวใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งนำเข้ามาบริการในปีนี้ ที่นับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้า คือ หุ่นยนต์ผสมยาเคมีบำบัด ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ พร้อมระบบตรวจสอบความถูกต้องของส่วนผสมยา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความแม่นยำให้สูงขึ้น และได้มาตรฐานการเตรียมยาระดับสากล ทั้งหมดนี้ให้บริการอยู่ที่ อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์”

เทคโนโลยีการฟอกเลือดประสิทธิภาพสูง ศูนย์โรคไต โดย นายแพทย์ศุภณัฐ วรวิชชวงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคไต

“ศูนย์โรคไต ถือเป็นศูนย์ใหม่ล่าสุด ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่จะเริ่มเปิดให้บริการ ในเดือนกันยายน ปี 2562 นี้ ด้วยปริมาณผู้ป่วยนอก ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับนโยบายการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยครอบคลุมทุกโรค ซึ่งปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ติดอันดับ 3 ของอาเซียน

โดยศูนย์นี้จะให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต ทั้งในแบบระยะสั้น และระยะยาวอย่างครบครัน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยทีมอายุรแพทย์โรคไต ทำงานร่วมกันกับนักโภชนากร เภสัชกร และพยาบาลประจำศูนย์ ในการประเมินการทำงานของระบบไต ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเอง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อช่วยในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยชะลอการเสื่อมของไตและช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากไตเสื่อม

พร้อมยกระดับการรักษาด้วยเทคโนโลยีกระบวนการฟอกเลือด ประสิทธิภาพสูง Online Hemodiafiltration ซึ่ง เป็นระบบที่ได้รับความนิยมหลายประเทศในแถบยุโรป สามารถขจัดของเสียในเลือดได้มากขึ้น และสามารถขจัดของเสีย ได้ทั้งโมเลกุลขนาดเล็ก และขนาดใหญ่

มีระบบผลิตน้ำ ที่ให้ความบริสุทธิ์สูง ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ช่วยให้ระบบหัวใจ และหลอดเลือดทำงานคงที่ และสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีขึ้น ช่วยให้ภาวะโลหิตจาง ในผู้ป่วยโรคไตดีขึ้น รวมถึงลดการใช้ฮอร์โมนกระตุ้น การสร้างเม็ดเลือดแดงลงได้ ซึ่งการฟอกเลือดแบบประสิทธิภาพสูงนี้ ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น

โดย ศูนย์โรคไต จะเริ่มเปิดให้บริการใน เดือนกันยายน 2563 นี้ ให้บริการทั้งผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในด้วยเทคโนโลยีการฟอกเลือดประสิทธิสูง ในอัตราค่าบริการตามกรมบัญชีกลาง ณ ชั้น 3 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สามารถสอบถามหรือ นัดหมาย โทร. 0 2576 6193