เทคโนโลยี การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ในยุคที่ก้าวหน้า

เทคโนโลยี การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ในยุคที่ก้าวหน้า

เทคโนโลยีการแพทย์ ในปัจจุบันก้าวหน้าเเละล้ำสมัยไปมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีการแพทย์ในต่างประเทศ ที่นำมาพัฒนาประยุคใช้ในประเทศไทย การรักษาโรค ก็ถูกยกระดับการรักษาที่สูงด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีการแพทย์แห่งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ที่เปิดให้รับการรักษาด้วยความเป็นเลิศ 10 ศูนย์การรักษาฉลองครบรอบ 10 ปี ภายใต้แนวคิด “จากพระปณิธาน สู่ ๑ ทศวรรษโรงพยาบาลจุฬาภรณ์” ยกระดับการรักษา+พัฒนาต่อยอด=พร้อมเป็นที่พึ่งพิง

เทคโนโลยี การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ในยุคที่ก้าวหน้า

เพื่อสาน พระปณิธานศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานผู้ก่อตั้ง “โรงพยาบาลจุฬาภรณ์” สู่การยกระดับการรักษา กับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เป็นเลิศ ผสานความเชี่ยวชาญ ส่งมอบบริการทางการแพทย์ โครงการสุขภาพด้านต่างๆ สู่สังคม พร้อมเปิดแคมเปญสุขภาพมอบส่วนลดทางการรักษา 10% ทุกศูนย์การรักษาให้กับผู้รับบริการตลอดปี ดังนี้

เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชั้นสูงที่ทันสมัย ศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน (DITP) โดย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ ผู้อำนวยการศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์  “ศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน

เป็นศูนย์ ที่ถือกำเนิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ในด้านการบริการ ทางการแพทย์ของคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่มุ่งให้บริการเพื่อรับใช้พี่น้องคนไทยด้วยเทคโนโลยีด้านรังสีวินิจฉัยและร่วมรักษาที่ดีที่สุด ทันสมัยที่สุด โดยนักรังสีเทคนิคและรังสีแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในการร่วมสร้างเสริมและดูแลรักษาสุขภาพปวงชนชาวไทยทั้งประเทศทั้งที่เป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และผู้ป่วยจากที่อื่นๆ ทั่วประเทศ

โดยศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชนได้ยกระดับเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชั้นสูงที่ทันสมัย ให้บริการด้วยเครื่องมือการตรวจวินิจฉัยชนิดต่างๆ 5 เครื่อง ได้แก่

  1. เครื่องตรวจรังสีทั่วไประบบดิจิทัล
  2. เครื่องตรวจอัลตราซาวด์
  3. เครื่องตรวจเต้านมระบบดิจิทัล
  4. เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ 2 พลังงาน หรือ Spectral CT โดยเป็นเทคโนโลยีความก้าวหน้าที่ผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีน้อยลง ใช้สารทึบรังสีน้อยลง และให้ภาพคมชัดที่ช่วยแยกแยะโรคได้ดีขึ้น มีความละเอียดสูง ครอบคลุมบริเวณที่ต้องการตรวจในระยะเวลาอันสั้น เช่น การตรวจหารอยโรคของหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจในกลุ่มเสี่ยง ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะเริ่มต้น และตรวจหามะเร็งท่อน้ำดีและตับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
  5. ห้องปฏิบัติการเอ็มอาร์ไอ ที่ให้บริการตรวจด้วยเครื่องคลื่นสะท้อนสนามแม่เหล็ก MRI 3 Tesla ระบบดิจิทัลรุ่นใหม่ล่าสุดในปัจจุบัน เพื่อตรวจวิเคราะห์หารอยโรคต่าง ๆ รวมถึงตรวจหาการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง การตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของสมอง และคัดกรองโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ตลอดจนการตรวจหาปริมาณไขมันตับเพื่อให้นำมาเป็นเครื่องมือในการปรับวิถีการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันโรคตับในอนาคต

การบริการของศูนย์นี้เราถือหลักการให้บริการคุณภาพสูงทั้งด้านเครื่องมือและบุคลากรโดยไม่หวังผลกำไรตามพระปณิธานขององค์ประธานราชวิทยาลัย โดยให้การบริการรวดเร็ว ลดระยะเวลารอคอยและลดความเหลื่อมล้ำ

โดยได้เริ่มขยายการเปิดให้บริการเป็น 7 วัน/สัปดาห์ ตั้งแต่เวลา 8.00-20.00น. เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้รับบริการในอัตราค่าบริการตรวจตามกรมบัญชีกลางราคาเดียวทั้งในและนอกเวลาราชการ ณ อาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สอบถามหรือนัดหมาย โทร 0 -2765- 5760

อนึ่ง คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีวิสัยทัศน์ในด้านการศึกษาที่มุ่งเน้นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติในสาขาวิทยาศาสตร์ที่ขาดแคลนเพื่อช่วยดูแลสุขภาพของปวงชนชาวไทยโดยมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งสู่การสร้างนักอัลตราซาวด์ สร้างนักรังสีเทคนิคระดับปริญญาตรี และระดับผู้เชี่ยวต่อยอดสาขาต่างๆ เช่น เอ็มอาร์ไอ, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และด้านอัลตราซาวด์ เป็นต้น และ สร้างนักวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของคนไทยในการปรับใช้ท่าทางต่างๆของร่างกายในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และร่วมดูแลสร้างสรรค์สมรรถภาพนักกีฬาไทยสู่สากล โดยมีศูนย์ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษาเพื่อปวงชน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นส่วนงานในกำกับดูแลของคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ

เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โดย รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชนิสา โชติพานิช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ  “ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ

ศูนย์ที่ก่อกำเนิดจากพระปณิธานและพระวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลขององค์ประธาน ซึ่งถือเป็นศูนย์ผู้บุกเบิกต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยีการสร้างภาพในระดับโมเลกุลทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อยกระดับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศไทย โดยนับเป็นศูนย์แรกของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ที่เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงและมีราคาแพงให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

ปัจจุบัน ศูนย์ไซโคลตรอน และเพทสแกนแห่งชาติ ได้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำ ของการผลิตสารเภสัชรังสี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากเครื่องไซโคลตรอน สำหรับการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพ มีความเฉพาะเจาะจงต่อโรคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญของศูนย์ฯ โดยเรามีทีมนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ร่วมกันคิดค้นพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ในการผลิตสารเภสัชรังสีตัวใหม่ๆ ที่ได้มาตรฐาน

ภารกิจอีกด้าน คือการให้บริการตรวจวินิจฉัย และรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โดยยกระดับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคระบบประสาท และโรคหัวใจด้วยเครื่องดิจิทัลเพทซีที ที่ช่วยสร้างภาพ และบ่งชี้ระดับเมตตาบอลิซึม ของสารเภสัชรังสี ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ร่วมกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สแกนด้วยความรวดเร็วและให้ภาพคมชัดสูง และตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ด้วยเครื่อง SPECT/CT โดยใช้สารเภสัชรังสีเพื่อประโยชน์ในการตรวจและรักษาที่ทำให้เห็นถึงการทำงานของอวัยวะในร่างกายได้อย่างแม่นยำ

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ศูนย์ไซโคลตรอน และเพทสแกนแห่งชาติ ได้นำนวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคระบบประสาท และโรคหัวใจ ด้วยเทคโนโลยี “ดิจิทัลเพทซีที” Digital PET/CT Biograph Vision

โดยเปิดให้บริการเป็นแห่งแรกในเอเชีย แก่ประชาชนคนไทย ด้วยอัตราค่าบริการเพื่อให้ผู้ป่วย สามารถเข้าถึงบริการได้ อาทิ ตรวจวินิจฉัย ระบบประสาทด้วยเครื่องดิจิทัลเพท-ซีที ราคาเริ่มต้นที่ 10,000 บาท และ ตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง ด้วยเครื่องเพท-ซีทีอนุพันธ์น้ำตาล FDG ราคา 20,000 บาท พร้อมมอบส่วนลดเพิ่มอีก 10% ตามแคมเปญสุขภาพ ของโรงพยาบาลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคมนี้

อีกหนึ่งโครงการ เพื่อประชาชน คือ ความสำเร็จอีกครั้งของการผลิตสารเภสัชรังสี  15O-H2O (Radiowater) เพื่อใช้ตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจของศูนย์ฯ โดยได้จัดทำโครงการพิเศษ ที่จะเชิญประชาชนไทยที่ได้รับ การวินิจฉัยจากศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ว่าสงสัยภาวะหัวใจขาดเลือด เข้าร่วมโครงการตรวจเพทซีทีในกลุ่มผู้ปวยโรคหัวใจขาดเลือด จำนวน 60 ราย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ สอบถามหรือนัดหมาย โทร. 06 4585 5193