โรคทั่วไป : โรคบาดทะยัก – ความรู้โรคภัยและสุขภาพ

โรคบาดทะยัก - ความรู้โรคภัยและสุขภาพ

โรคทั่วไป : โรคบาดทะยัก – ความรู้โรคภัยและสุขภาพ บาดทะยัก ชื่อนี้น่ากลัวแค่ไหนในความรู้สึกเรากันนะ ? เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินเรื่องราวของเจ้าโรคบาดทะยักนี้กันมาไม่มากก็น้อย พร้อมภาพจำที่ว่า ‘สนิม’ เท่ากับ ‘บาดทะยัก’ ทั้งที่จริงแล้วโรคบาดทะยักมักแฝงมากับบาดแผลรูปแบบต่างๆ ได้อีกมากมาย

โรคบาดทะยัก - ความรู้โรคภัยและสุขภาพ

บาดทะยัก เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani ซึ่งมีฤทธิ์โดยตรงต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ด้วยความสามารถในการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วโดยการแพร่ผ่านกระแสเลือด จึงส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลางเริ่มทำงานผิดปกติ จนสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งไม่เป็นปกติ โดยเฉพาะบริเวณขากรรไกร ผู้ที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จึงมักมีอาการขากรรไกรแข็ง หรือมีอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ไปจนถึงอาการชักเกร็งได้เช่นกัน ซึ่งต้นเหตุที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้ ก็มาจากบาดแผลต่างๆ อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ซึ่งอาจไม่ได้มาจากการทิ่มตำของตะปูเพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจากรอยแผลรูปแบบต่างๆ ดังนี้

-แผลติดเชื้อในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
-แผลติดเชื้อจากการผ่าตัด, ทำฟัน
-แผลติดเชื้อจากการเจาะ, สัก (ใช้เข็มร่วมกัน)
-แผลจากการโดนสัตว์ทำร้าย
-แผลจากการโดนบาด หรือมีการฉีกขาด
-แผลจากอุบัติเหตุรุนแรง (ผิวไหม้)

โรคบาดทะยัก - ความรู้โรคภัยและสุขภาพ

เรียกว่าที่มาของบาดแผลที่นำไปสู่การติดเชื้อบาดทะยักได้นั้นค่อนข้างหลากหลาย แม้กระทั่งบาดแผลที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมี ‘สนิม’ เป็นตัวกลาง เชื้อบาดทะยักก็สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการไหน… ใช่ หรือเข้าใกล้เชื้อบาดทะยักกันล่ะ ? เพราะขึ้นชื่อว่าแผล แค่มีเลือดซึมๆ ให้เห็นนิดหน่อยก็ยังถูกเรียกว่าแผลอยู่ดี สำหรับใครที่ใช้ชีวิตแบบระมัดระวัง พบคุณหมอเป็นประจำอาจไม่น่าห่วงมาก แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบไปโรงพยาบาลหรืออยากไปหาหมอสักเท่าไร ยิ่งแผลเล็กๆ น้อยๆ เดี๋ยวก็หายเองได้ไม่กี่วัน ซึ่งนอกจากชนิดของแผลที่มีโอกาสติดเชื้อบาดทะยักตามลิสต์ที่ได้ระบุไว้แล้ว หากมีอาการดังต่อไปนี้ หลังบาดเจ็บมีแผลได้ประมาณ 10-14 วัน อาจสงสัยได้ว่านี่แหละคือ บาดทะยัก

ซึ่งอาการสังเกตเหล่านี้ ในบางคนอาจเกิดขึ้นหลังได้รับเชื้อไปแล้ว 1 เดือน หรือจนแผลหายไปแล้ว ค่อยปรากฏอาการบาดทะยักออกมาก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงแต่ละบุคคล แต่เมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติ โดยเฉพาะภาวะหายใจติดขัด กลืนลำบาก ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด อีกทั้งโรคบาดทะยักสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ไม่เว้นกระทั่งเด็กวัยแรกเกิดที่แม้จะมีตัวเลขให้พบเห็นได้ไม่มาก แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้

สำหรับโรคบาดทะยักในเด็กนั้นมีอาการสังเกตไม่แตกต่างจากบาดทะยักในผู้ใหญ่ เช่น อ้าปากไม่ได้ ดูดหรือกลืนนมลำบาก จนส่งผลต่อการดูดนมของเด็กตามช่วงวัย ชัดเจนที่สุดคือเด็กจะดูดนมไม่ได้เลย รวมถึงอาการชักเกร็งที่ผู้ปกครองอาจต้องคอยสังเกตให้ดี เช่น เด็กหลังแอ่น หลังแข็ง อยู่เฉยๆ ก็มีอาการกระตุก เป็นต้น