เรื่องเกี่ยวกับ การตรวจสุขภาพหู

ตรวจสุขภาพ

เรื่องเกี่ยวกับการ ตรวจสุขภาพหู หากใครมีอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง มีอาการปวดหู อาจเป็นอาการบ่งชี้ของภาวะขี้หูอุดตันได้ ก่อนจะพูดเรื่องภาวะขี้หูอุดตัน มาทำความรู้จักขี้หูกันก่อนว่า “ขี้หู” คืออะไร

ขี้หูมาจากช่องหูชั้นนอก ประกอบด้วยเยื่อบุผิวช่องหูชั้นนอกที่หลุดลอก (epithelial cells) ไขมัน และสารที่ผลิตจากต่อมเหงื่อ (sebum with secretions from modified apocrine sweat glands) อาจพบรวมกับสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่อยู่ในช่องหู รวมเป็นขี้หู ซึ่งอาจพบได้ทั้งแบบเปียก หรือแบบแห้ง

ขี้หูมีประโยชน์ในการช่วยทำความสะอาด ช่วยป้องกัน และช่วยหล่อลื่นช่องหูชั้นนอก โดยส่วนใหญ่แล้วขี้หูสามารถหลุดออกไปจากช่องหูได้เอง โดยเฉพาะเวลาขยับปากหรือการเคี้ยวจะช่วยกระตุ้นการขับขี้หู

ถ้าหากเกิดภาวะขี้หูอุดตัน อาจทำให้มีการได้ยินลดลงจากการนำเสียงบกพร่องได้ถึง 40 เดซิเบล

ขึ้นอยู่กับระดับการอุดตัน และอาจทำให้มีอาการอื่น ๆ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมาด้วยได้ เช่น ปวดหู ไอ เสียงในหู คันหู มีกลิ่นในหู น้ำออกหู รู้สึกแน่นในหู ดังนั้น หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรมาพบแพทย์

ในบางรายอาจมีภาวะขี้หูอุดตันโดยที่ไม่มีอาการเลยก็ได้ และอาจไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะนี้ หากไม่ได้ไปตรวจหู

เรื่องเกี่ยวกับ การตรวจสุขภาพหู

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขี้หูอุดตันมีหลายอย่าง เช่น ลักษณะของช่องหูที่แคบ การผลิตขี้หูที่มากผิดปกติ โรคเยื่อบุช่องหูที่ผิดปกติ

ข้อควรระวังในการทำความสะอาดหูคือ การแคะหรือปั่นช่องหูด้วยคอตตอนบัดอาจสามารถเอาขี้หูออกได้ แต่อาจทำให้เกิดการดันขี้หูให้เข้าไปลึกขึ้น เกิดการอุดตันกว่าเดิมได้ และอาจทำให้เกิดแผลที่บริเวณช่องหูชั้นนอกหรือแก้วหูทะลุได้หากดันไปลึกเกินไป และตัวสำลีอาจหลุดเข้าไปเป็นสิ่งแปลกปลอมในหูได้อีกด้วย

ส่วนการรักษาขี้หูอุดตันมีหลายวิธี เช่น การใช้อุปกรณ์แคะหรือดูด การสวนล้าง การใช้ยาละลายขี้หู (ceruminolytics) เช่น น้ำมันมะกอก โซเดียมไบคาร์บอเนต เป็นต้น ซึ่งการออกฤทธิ์หลักคือ ทำให้ขี้หูนิ่มขึ้น จนสามารถเอาออกได้ง่ายขึ้น และถ้ามีกล้องส่องตรวจหูร่วมด้วยจะสามารถดูได้ละเอียดขึ้นว่าขี้หูหมดหรือไม่ เยื่อบุผิวช่องหู มีแผลหรืออักเสบติดเชื้อหรือไม่ หรือแก้วหูมีลักษณะปกติไหม

ภาวะขี้หูอุดตันอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการแคะปั่นช่องหู ทำความสะอาดเฉพาะหูด้านนอกเท่านั้น และหากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะอาจเป็นขี้หูอุดตัน หรือโรคอื่นก็ได้ และรีบรักษาก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา

การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน หรือตรวจสุขภาพของหู

การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน หรือตรวจสุขภาพหู เป็นการตรวจการทำงานของหูและระบบโสตประสาท เพื่อประเมินหาระดับการได้ยินเสียงของบุคคลอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน และวินิจฉัยความผิดปกติของระบบการได้ยิน โดยผู้ที่มีการได้ยิน “ปกติ” จะมีระดับที่เริ่มได้ยินเสียงอยู่ระหว่าง -10 ถึง 25 เดซิเบล หากมากกว่า 25 เดซิเบล ถือว่ามีความผิดปกติของการได้ยิน

เรื่องเกี่ยวกับ การตรวจสุขภาพหู

เราต้องหมั่นสังเกตอาการเบื้องต้นว่า มีการได้ยินที่ผิดปกติหรือไม่!!!

  1. หากบุคคลนั้นเรียกแล้วไม่ได้ยิน ฟังคำพูดไม่ชัดเจนต้องถามซ้ำ
  2. ความถี่เกี่ยวกับหู เช่น หูอื้อบ่อย มีเสียงรบกวนในหูบ่อย เป็นต้น
  3. บาดเจ็บบริเวณหูและศีรษะ ร่วมกับมีการสูญเสียการได้ยิน
  4. ตรวจก่อน/หลังการผ่าตัด หรือการใช้ยากลุ่มที่อาจทำลายประสาทหู
  5. ได้รับการกระทบกระเทือนจากเสียงดัง หรือทำงานในที่ที่มีเสียงดัง
  6. มีประวัติหูตึง หูหนวกในครอบครัว สาเหตุจากกรรมพันธุ์
  7. ผู้ที่ต้องการใส่เครื่องช่วยฟัง
  8. เด็กที่พูดช้า พูดผิดปกติ ไม่ตอบสนองต่อเสียง หรือมีปัญหาการเรียนรู้

ผู้ที่ควรตรวจการได้ยิน

เด็ก

  • มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหูและการได้ยิน เช่น เป็นหวัดเรื้อรัง ปวดหู หูอื้อ
  • พัฒนาการทางภาษาและการพูดไม่สมวัย
  • เด็กที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น คลอดก่อนกำหนด มีภาวะตัวเขียวหรือตัวเหลือง

ผู้ใหญ่

  • มีความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหูและการได้ยิน เช่น ปวดหู หูอื้อ มีเสียงรบกวนในหู
  • บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น ทำงานในที่ที่มีเสียงดัง กินยาบางชนิด
  • ผู้สูงอายุ

วิธีการตรวจการได้ยิน

แบ่งออกเป็น ตรวจเพื่อคัดกรอง และเพื่อวินิจฉัย

  • วิธีตรวจเพื่อคัดกรอง ใช้ส้อมเสียงเคาะถามคนไข้เพื่อทดสอบการได้ยิน หรืออาจเว้นระยะ 1 เมตร แล้วเรียกถามคนไข้ 5 คำ แล้วทดสอบว่าได้ยินครบหรือไม่
  • วิธีตรวจเพื่อวินิจฉัย ใช้เสียงบริสุทธิ์ และใช้คำพูด โดยจะค่อย ๆ ลดระดับความดังลงทีละระดับ แล้วให้คนไข้ตอบสนอง

ขั้นตอนการตรวจการได้ยิน

  1. ให้คนไข้ฟังเสียง และให้คนไข้ตอบสนองด้วยการยกมือ
  2. ค่อย ๆ ลดระดับเสียงลงเรื่อย ๆ
  3. หาเสียงที่เบาที่สุดที่คนไข้สามารถตอบสนองได้

หากตรวจแล้วพบว่ามีความผิดปกติ จะทำการส่งตัวคนไข้ไปยังผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาต่อไป อาจรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ หากไม่สามารถรักษาได้ จะทำการส่งตัวคนไข้กลับไปที่นักแก้ไขทางการได้ยิน เพื่อวินิจฉัยต่อว่าจะช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น เช่น การใช้เครื่องช่วยฟัง เป็นต้น
(ขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จาก rama chanel)