ประกันแบบเหมาจ่ายกรณีนอนโรงพยาบาล ปกติสัญญาประกันค่ารักษาแบบผู้ป่วยใน วงเงินหลักๆจะแยกเป็น ค่าห้อง ค่าหมอเยี่ยม ค่าผ่าตัด ค่ายาต่างๆ ทีนี้ถ้าวงเงินไหนใช้เกิน เราก็จะต้องออกเงินจ่ายเอง นั่นจึงเป็นที่มาของสัญญาตัวนี้ในการช่วยปิดช่องว่างค่ารักษา
ประกันแบบนี้จ่ายเบี้ยประกันพอๆกับสัญญาประกันกรณีผ่าตัดและเป็นผู้ป่วยใน เพียงแต่ว่าสัญญาตัวนี้จะให้ผลประโยชน์น้อยกว่า แต่ว่าบริษัทประกันจะให้เป็นวงเงินรวมมาให้สามารถจ่ายในกรณีใดๆก็ได้ อย่างเช่นสัญญาผู้ป่วยในปกติให้วงเงิน 2 แสนบาท แต่จะแยกวงเงิน เป็น ค่าห้อง ค่าหมอเยี่ยม ค่าผ่าตัด ค่ายาต่างๆ แต่สัญญาแบบนี้วงเงินเหล่านี้จะเหมารวมกันมาเลย แต่อาจจะให้วงเงินเบิกได้สูงสุดเพียงแค่ 5 หมื่นบาท ซึ่งอย่างน้อยเราก็มั่นใจได้ว่า หากต้องนอนรักษาแบบเบาๆก็ใช้วงเงินนี้ได้เลย หรือหากรักษาแบบหนักๆก็ใช้สิทธิ์นี้ร่วมกับวงเงินค่ารักษาผู้ป่วยในแบบปกติ
ประกันสุขภาพเหมาะกับใครบ้าง
1. ผู้ที่มีสุขภาพดีแต่กังวลว่าตัวเองอาจมีความเสี่ยงในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
กลุ่มนี้มีโอกาสเข้าโรงพยาบาลบ่อยมากกว่ากลุ่มอื่น การทำประกันสุขภาพจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด เพราะช่วยลดค่ารักษาต่างๆ ได้อย่างดี รวมถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพภายใต้โรงพยาบาลที่ได้ทำประกันสุขภาพไว้
2. วัยทำงาน
ที่มองหาประกันสุขภาพเสริมจากสวัสดิการที่ตัวเองมีอยู่ หรือ ป้องกันความเสี่ยงเรื่องสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ความคิดที่ส่งผลต่อโรคความดันสูง
3. เจ้าของกิจการ
ถึงเเม้จะมีรายได้ที่สูงกว่าพนักงานเงินเดือนเเต่ก็ทำงานหนักมากกว่า ส่งผลให้ละเลยสุขภาพตนเอง เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา นอนดึก ละเลยสัญญาเตือนของโรคภัย อีกทั้งไม่มีประกันชีวิตเบื้องต้นเหมือนกับพนักงานเงินเดือนที่บริษัททำให้ การซื้อประกันจึงเหมือนเป็นการบริหารความเสี่ยงให้คุณทำงานอย่างหนักได้อย่างปลอดภัย
4. ผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี
ประกันสุขภาพนอกจากจะคุ้มครองสุขภาพของคุณเเล้ว ยังได้รับสิทธิประโยชน์เรื่องการลดหย่อนภาษีด้วย
โดยประกันสุขภาพที่มีสิทธิลดหย่อนภาษีต้องเข้าเกณฑ์ดังนี้
-ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการเจ็บป่วยเเละบาดเจ็บ เช่น การทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ
-ประกันภัยโรคร้ายเเรง
-ประกันภัยการดูเเลระยะยาว