ออพชั่นเสริมสำหรับประกันสุขภาพ แต่ละประเภท

ออพชั่นเสริมสำหรับประกันสุขภาพ แต่ละประเภท การไม่เป็นโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ความเป็นจริงของชีวิตทุกคนคงเคยเผชิญเหตุการณ์การเจ็บป่วยของตนเองและคนรอบข้าง ซึ่งเมื่อเข้าทำการรักษาตัวในโรงพยาบาล มักจะเจอคำถามว่า “มีประกันหรือเปล่า” “ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลอะไรบ้าง”

สิ่งที่ไม่เคยต่อรองหรือปฏิเสธได้เลย คือ ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งบางคนเงินที่เก็บมาทั้งชีวิตต้องนำมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังนั้น การวางแผนประกันสุขภาพจึงมีความสำคัญ เพราะเป็นการบริหารความเสี่ยงในการวางแผนการเงิน

ประกันแบบ OPD – มีเงินเหลือค่อยซื้อนะ
“OPD เบิกได้มั้ย” ตัวแทนประกันหลายๆท่านน่าจะได้รับคำถามนี้บ่อย ต้องบอกก่อนว่าปกติเวลาไปโรงพยาบาลจะมีอยู่ 2 กรณี คือผู้ป่วยใน หรือ IPD คือต้องมีการนอนพักค้างคืนในโรงพยาบาล ส่วนมากกรณีนี้มักเป็นในกรณีป่วยหนักๆหรือต้องผ่าตัด กับอีกแบบหนึ่งคือ ผู้ป่วยนอกหรือ OPD ซึ่งไม่ได้มีการพักค้างคืน หาหมอ ดูอาการ รับคำปรึกษา ทำการรักษา จ่ายยา จ่ายเงิน กลับบ้าน ซึ่งประกันแบบผู้ป่วยนอกมักจะให้ในวงเงินจำกัด เช่น ครั้งละ 500-1,000 บาท โดยเบี้ยประกันมักจะคิดอยู่ประมาณ 4-8 เท่าของวงเงินของ OPD แต่ละครั้ง

ซึ่งในทางปฏิบัติ การทำประกันแบบ OPD จะได้ประโยชน์กรณีทำกันเป็นหมู่ แต่หากทำแบบรายเดี่ยวแล้วไม่ได้ไปพบหมอ มักไม่ค่อยคุ้มค่า เพราะสวัสดิการเทียบกับเบี้ยประกันที่จ่ายถือว่าได้ค่อนข้างน้อย แต่ที่คนทำประกันมักถามหาบ่อยๆเพราะคิดว่า น่าจะมีโอกาสได้ใช้บ่อย ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทประกันก็คิดแบบนั้นเช่นกัน บริษัทก็เลยตั้งเบี้ยประกันไว้ค่อนข้างสูง แต่หากลองคิดดูดีๆว่าปีๆหนึ่งถ้าเราไม่ได้ไปหาหมอบ่อยๆ บางทีเก็บเงินที่จะจ่ายเบี้ยแบบ OPD เอาไว้กับตัวเองแล้วเอาไปจ่ายเวลาหาหมอก็อาจจะคุ้มกว่าก็ได้นะครับ

วางแผนเลือกประกันสุขภาพ ฉบับคนงบจำกัด
ออพชั่นเสริมสำหรับประกันสุขภาพ
ประกันอุบัติเหตุ – ประกันสำเร็จรูป ฉีกซองคุ้มครองทันที
ตัวนี้น่าจะเข้าใจได้ง่ายๆอยู่แล้ว คือ กรณีเกิดอุบัติ จ่ายค่ารักษาให้ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยในหรือนอก รวมทั้งจ่ายสินไหมกรณีเสียชีวิตด้วย เหตุง่ายๆที่ประกันอุบัติเหตุน่าสนใจเพราะว่าจ่ายเบี้ยประกันไม่มาก และสามารถใช้ในเหตุฉุกเฉินได้ทันที รวมทั้งสามารถเข้ารับการรักษาในคลินิกได้ด้วยนะครับ

วางแผนเลือกประกันสุขภาพ ฉบับคนงบจำกัด
ประกันแบบเหมาจ่ายกรณีนอนโรงพยาบาล – นอนเล็กนอนน้อยก็เบิกได้
ปกติสัญญาประกันค่ารักษาแบบผู้ป่วยใน วงเงินหลักๆจะแยกเป็น ค่าห้อง ค่าหมอเยี่ยม ค่าผ่าตัด ค่ายาต่างๆ ทีนี้ถ้าวงเงินไหนใช้เกิน เราก็จะต้องออกเงินจ่ายเอง นั่นจึงเป็นที่มาของสัญญาตัวนี้ในการช่วยปิดช่องว่างค่ารักษา

ประกันแบบนี้จ่ายเบี้ยประกันพอๆกับสัญญาประกันกรณีผ่าตัดและเป็นผู้ป่วยใน เพียงแต่ว่าสัญญาตัวนี้จะให้ผลประโยชน์น้อยกว่า แต่ว่าบริษัทประกันจะให้เป็นวงเงินรวมมาให้สามารถจ่ายในกรณีใดๆก็ได้ อย่างเช่นสัญญาผู้ป่วยในปกติให้วงเงิน 2 แสนบาท แต่จะแยกวงเงิน เป็น ค่าห้อง ค่าหมอเยี่ยม ค่าผ่าตัด ค่ายาต่างๆ แต่สัญญาแบบนี้วงเงินเหล่านี้จะเหมารวมกันมาเลย แต่อาจจะให้วงเงินเบิกได้สูงสุดเพียงแค่ 5 หมื่นบาท ซึ่งอย่างน้อยเราก็มั่นใจได้ว่า หากต้องนอนรักษาแบบเบาๆก็ใช้วงเงินนี้ได้เลย หรือหากรักษาแบบหนักๆก็ใช้สิทธิ์นี้ร่วมกับวงเงินค่ารักษาผู้ป่วยในแบบปกติ